Monday, May 20, 2013

ชวนเด็กฉลาดมาเป็น Startup

วันก่อนได้มีโอกาสอ่านบทความ ชวนเด็กฉลาดมาเป็น Startup ของผศ.ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ซึ่งได้จุดประเด็นว่า การเติบโตของ Startup ต่าง ๆ มักเกิดจากเด็กปานกลาง โดยที่เด็กฉลาดส่วนมากเลือกที่จะทำงานเป็นพนักงานมากกว่า พร้อมทั้ง ตั้งคำถามว่ามีทักษะสำคัญอะไรบ้างน่าจะมีสำหรับเด็กเก่งเหล่านั้น ในฐานที่เจอ startup มาหลายแบบและได้มีส่วนในหลาย startup จึงขอแสดงความเห็นเพิ่มเติมในประเด็นทักษะดังนี้

 

1.  ความคิดเชิงตรรกะ – จริงอยู่ว่าตรรกะมีความสำคัญ แต่กลับได้รับการสอนน้อยมาก คงมีเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์บทหนึ่งเท่านั้นที่สอนตอน ม.4 เทอมต้น นอกนั้นแทบจะหาเรียนไม่ได้เลย โดยส่วนมากมุ่งไปที่เน้นการท่องจำสูตรและการนำสูตรไปใช้เท่านั้น ดังนั้นหากเด็กไม่แสวงหา (ซึ่งเด็กฉลาดมักจะถูกปลูกฝังให้มุ่งแต่ผลสัมฤทธิ์ทางด้านคะแนนและการสอบ) ก็จะเป็นการยากที่จะมีทักษะ logic thinking และแทบจะไม่มีโอกาสที่จะมี fuzzy logic ได้เลยเพราะพื้นฐานไม่มั่นคง ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญมาก ๆ ของการ Startup เพราะจะต้องเจอกับความไม่แน่นอนค่อนข้างมาก

2.  People skill – จะสังเกตได้ว่า Startup ที่ประสบความสำเร็จในระยะหลัง ๆ จะต้องอิง Mass market เป็นส่วนมาก และเช่นกันเด็กฉลาดกลุ่มนี้ได้ถูกสร้างจากระบบการเรียนการสอนที่เสมือนปลูกฝังให้มีความเห็นแก่ตัว เพราะการเรียนเน้นไปที่การท่องจำและการใช้ tips and tricks ในการแก้ปัญหา ไม่เน้นการทำงานเป็นทีมหรือคำถามปลายเปิดแต่อย่างใด ตัวอย่างที่พอจะยกตัวอย่างได้คือ มหาวิทยาลัยบางมด ที่ให้คะแนนนิสิตแค่ 0 กับ เต็ม (ได้มีโอกาสถาม อ. พบว่าท่านมีแนวคิดว่า คำตอบมีแค่ผิดกับถูกเท่านั้น – แนวคิดนี้น่ากลัวมาก) อีกทั้งในระยะหลัง ๆ การเรียนการสอนมุ่งไปที่การทำตาม KPI ด้านการศึกษามากกว่า เช่นจำนวนเด็กที่จบฯ ทำให้อาจารย์มีความจำเป็นที่ต้องให้ความสนใจกับเด็กปานกลางมากกว่าเด็กฉลาด จึงกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีการสร้าง skill นี้เลย

3.  Risk taker – ขนาด think out of the box ยังยาก จะหวังให้เป็น risk taker นี่แทบจะลืมไปได้เลย เด็กฉลาดมักไม่เคยล้มเลวหรือพลาดอะไรในชีวิตการเรียน ไม่มีเกราะป้องกันความล้มเลวจะเลือกที่จะทำงานตามคำแนะนำของคนรอบข้างในองค์กรที่มีความมั่นคงมากกว่า

ผมเห็นด้วยในตอนท้ายของบทความว่า กระบวนการเหล่านี้เกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย ซึ่งผมว่าหากเรารอกลไกทางสังคมเหล่านั้นก็แทบจะหมดหวังเลยทีเดียว

 

No comments: